การเลือกใช้เมมโมรี่การ์ดให้เหมาะกับการใช้งาน

31/05/22
0 view(s)
การเลือกใช้เมมโมรี่การ์ดให้เหมาะกับการใช้งาน

เมมโมรี่การ์ดมีมากมายในท้องตลาด หลายคนอาจจะเคยซื้อมาแต่ใช้กับกล้องตัวเองไม่ได้ เพราะการ์ดที่ซื้อมาไม่รองรับกับอุปกรณ์ที่ใช้ ต้องบอกว่าเมมโมรี่การ์ดมีการแยกประเภทหลากหลายรูปแบบและข้อมูลสเปคที่อยู่บนการ์ด ซึ่งจริง ๆ แล้ว ถ้าเราเข้าใจข้อมูล ต่าง ๆ เหล่านั้นก็จะสามารถใช้งานได้ถูกต้อง

ประเภทของเมมโมรี่การ์ด

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นหน้าตาและเคยใช้เมมโมรี่การ์ดมาแล้วบ้าง ส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับใช้แบบปกติ SD Card และแบบเล็กอย่าง Micro SD Card ซึ่งจริงๆ แล้วในปัจจุบัน 2 ตัวนี้ก็สามารถใช้งานกับกล้องและอุปกรณ์ได้อย่างครอบคลุม แต่ก็ยังมีเมมโมรี่การ์ดแบบอื่น ๆ อีก

SD Card

Cr. Erik Mclean

SD Card หรือชื่อเต็มคือ Secure Digital Card เป็นเมมฯ ที่เราน่าจะคุ้นเคยกันดี ในปัจจุบันจะใช้กับกล้องได้เกือบทุกรุ่นทุกยี่ห้อ ไม่ว่าจะเป็นกล้องดิจิทัล, วิดีโอ และกล้องอื่น ๆ นอกจากนี้ SD Card ยังมีหลายแบบให้เลือกใช้

1. SD Standard Capacity (SD, จะมีความจุอยู่ที่ 2 GB หรือน้อยกว่านั้น)
2. SD High Capacity (SDHC, มีความจุอยู่ที่ 4 GB ถึงมากที่สุด 32 GB)
3. SD eXtended Capacity (SDXC, มีความจุอยู่ที่ 32 GB ถึงมากที่สุด 2 TB)

และในแต่ละความจุ ก็จะมีการแยกความเร็วแตกต่างกันในการเขียนและการอ่านข้อมูล เช่น Class 2, 4, 6, 10

Class 2 - ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 2MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน
Class 4 - ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 4MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน และถ่ายวิดีโอ Full HD ที่ 720p/1080p ได้
Class 6 - ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 6MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน, ถ่ายวิดีโอ Full HD และถ่ายวิดีโอ 4K
Class 10 - ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 10MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน, ถ่ายวิดีโอ Full HD และถ่ายวิดีโอ 4K

 

Micro SD Card

Micro SD Card จะเป็นการ์ดบันทึกข้อมูลที่มีขนาดเล็กกว่า SD Card เท่าตัว แต่มีความจุใกล้เคียงกัน ส่วนใหญ่จะใช้กับสมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต แต่ในวงการกล้องก็มีการใช้ Micro SD Card เหมือนกัน ส่วนใหญ่จะใช้กับโดรน และแอคชั่นแคม (Action Camera)

 

CF Card

ด้วยความที่กล้อง DSLR มีความนิยมน้อยลงแล้ว เลยเป็นอีก 1 การ์ดที่หลายคนอาจจะไม่เคยได้ยิน CF Card หรือชื่อเต็มคือ Compact Flash Card เป็นเมมโมรี่การ์ดที่นิยมใช้กับกล้อง DSLR มีความเร็วในการทำงานค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีข้อเสีย คือ มีขนาดที่ใหญ่ และค่อนข้างจะกินพลังงาน

 

Wifi Card

Wi-Fi SD Card | Product Support - Transcend Information, Inc.

Wifi Card เป็นการ์ดที่พัฒนาสำหรับกล้องที่ยังไม่มี Wifi สามารถส่งไฟล์เข้ามือถือ หรือสมาร์ทโฟนได้เลย ที่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้กันแล้ว เพราะกล้องเกือบทุกรุ่นที่ออกมา จะมี Wifi มาให้

แต่ส่วนใหญ่แล้ว เมมโมรี่การ์ดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน จะเป็น SD Card และ Micro SD Card เพราะสามารถใช้งานได้ครอบคลุมและรองรับกล้องเกือบทุกรุ่น

รูปแบบของการ์ด

  • แบบธรรมดา เป็นการ์ดเริ่มแรก ที่จะใช้งานได้กับกล้องรุ่นเก่า
  • แบบ Ultra สำหรับกล้องที่มีสเปค Full HD
  • แบบ Extreme รองรับการใช้งานกับกล้อง ทั้งภาพนิ่งที่มีความละเอียดสูงกับความเร็วและวีดีโอแบบ4K
  • แบบ Extreme Pro การใช้งานเต็มรูปแบบ ทั้งการอ่านและเขียนที่เร็วขึ้นวีดีโอ4K เช่น กล้อง GoPro และ สมาร์ทโฟนที่สเปคสูงๆ

 

แล้วข้อมูลบนการ์ดบอกอะไรบ้าง ?

1. ชื่อซีรี่ส์

ชื่อซีรี่ส์ เพื่อบอกให้รู้ว่าอยู่ในกลุ่มไหน หรือคลาสไหน

2. ความเร็วอ่าน

ความเร็วอ่าน หรือให้เข้าใจง่ายๆ เลยก็ คือ การอ่านจะเป็นตอนที่เรากดถ่าย ซึ่งตรงนี้บนการ์ด จะบอกถึงความเร็วในการอ่านสูงสุดที่การ์ดสามารถทำได้ โดยในการเลือกใช้งาน เราจะไม่สามารถดูแค่ความเร็วในการอ่านได้ แต่ต้องดูควบคู่ไปกับความเร็วในการเขียนด้วย ซึ่งการเขียนจะเป็นขั้นตอนที่รอดูภาพพรีวิวหลังจากกดถ่ายนั่นเอง

ซึ่งบางตัวจะไม่มีบอกบนการ์ด แต่จะบอกที่บนกล่องหรือผลิตภัณฑ์แทน แต่ในบางการ์ด อย่างของ Sony ที่เขาขายเรื่องความเร็วในการทำงานอยู่แล้ว ก็จะมีข้อมูลโชว์อยู่บนการ์ด

ดังนั้นนอกจากจะดูความเร็วในการอ่านแล้ว อย่าลืม! พลิกกล่องดูจุดสำคัญของความเร็วในการเขียนด้วย เพื่อการใช้งานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

3. ขนาดความจุ

ยิ่งขนาดความจุเยอะเท่าไหร่ ก็จะจุข้อมูลได้เยอะเท่านั้น มีหน่วยความจุตั้งแต่ GB - TB ซึ่งก็อย่าลืมว่าก่อนจะเลือกความจุ เราต้องดูก่อนว่ากล้องหรืออุปกรณ์ของเรา รองรับการ์ดประเภทไหน

4. รูปแบบของการ์ด

รูปแบบของการ์ด จะแบ่งตามลักษณะการเก็บไฟล์ ซึ่งการ์ด SD, SDHC และ SDXC จะมีรูปแบบการเก็บไฟล์ที่ต่างกัน ที่คนใช้งานอย่างเราๆ ไม่จำเป็นต้องลงลึกไปขนาดนั้น และสิ่งที่เราจะแยกรูปแบบการ์ดพวกนี้ได้ จะดูแค่ความจุเพียงเท่านั้น

SD - มีความจุ 2GB หรือน้อยกว่านั้น ซึ่งจะเห็นคนใช้น้อยแล้ว จะนิยมใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ความจุข้อมูลเยอะ

SDHC - มีความจุอยู่ที่ 4 GB ถึงมากที่สุด 32 GB

SDXC - มีความจุอยู่ที่ 32 GB ถึงมากที่สุด 2 TB เป็นการ์ดที่ออกแบบมาให้มีความจุได้สูงมาก ซึ่งราคาก็จะสูงตามไปด้วย

5. ลักษณะบ่งบอกความเร็วการ์ด

พื้นฐานความเร็วของการ์ด หรือ Bus Speed เป็นหน่วยวัดค่า Ultra-High Speed Bus หรือ UHS สามารถเทียบได้กับรถที่มีความเร็วเยอะ ก็ยิ่งส่งข้อมูลได้มาก โดยจะนับหน่วยเป็น “ความเร็ว/วินาที”

จากที่เห็นบนการ์ด จะเป็นตัวย่อ U แล้วจะมีเลขโรมันต่อท้าย หรือเป็นเลขโรมันตัวเดียว ซึ่งจะมีตั้งแต่ 1- 3 เท่านั้น คือ UHS-I, UHS-II และ UHS-III

UHS-I กล้องที่ใช้งานหรือรองรับกับการ์ดนี้ได้ จะสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดที่ 104MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

UHS-II กล้องที่ใช้งานหรือรองรับกับการ์ดนี้ได้ จะสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดที่ 312MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

UHS-III กล้องที่ใช้งานหรือรองรับกับการ์ดนี้ได้ จะสามารถใช้ความเร็วได้สูงสุดที่ 642MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

หรือจะสามารถสังเกตได้ที่พิน (Pin) ด้านหลัง ถ้ามีมากกว่าก็จะยิ่งเร็วมาก แต่ราคาก็จะแพงขึ้นตามไปด้วย

การเลือกใช้งานก็จะต้องดูด้วยว่า กล้องที่มีอยู่สามารถรองรับการ์ด UHS ได้ระดับไหน สมมติว่าถ้ากล้องสามารถรองรับได้แค่ UHS-II แต่เราดันซื้อการ์ด UHS-III มาใช้ ประสิทธิภาพของการ์ด ก็จะจำกัดไว้อยู่ที่ UHS-II เท่านั้น

6 . คลาสความเร็วของการ์ด

คลาสความเร็ว หรือ Speed Class จะใช้สัญลักษณ์ “C” จะมีตั้งแต่ C2, C4, C6 และ C10

C2 (Class 2) ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 2MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน

C4 (Class 4) ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 4MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน และถ่ายวิดีโอ Full HD ได้

C6 (Class 6) ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 6MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน, ถ่ายวิดีโอ Full HD และถ่ายวิดีโอ 4K

C10 (Class 10) ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 10MB/s ความเร็วในการเขียนขั้นต่ำ 6MB/s สามารถถ่ายวิดีโอได้ตามมาตรฐาน, ถ่ายวิดีโอ Full HD และถ่ายวิดีโอ 4K

ที่ในปัจจุบันจะไม่ค่อยเห็นการ์ดคลาสอื่น นอกจาก C10 เพราะถือว่าเป็นมาตรฐาน จากการที่ในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ตลอดเวลา ขีดความสามารถของกล้องหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ก็พัฒนาตามไปด้วย ตัวการ์ด C2, C4 และ C6 เลยไม่ตอบโจทย์การใช้งาน

7. สัญลักษณ์บอกความเร็วขั้นต่ำในการเขียนของการ์ด

UHS Speed Class เป็นการระบุความสามารถในการเขียนข้อมูลต่อเนื่องขั้นต่ำเพื่อบันทึกวิดีโอ และเป็นหน่วยวัดความเร็วของ SD Card แบบใหม่และนิยมใช้กันมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี และการตอบสนองต่อกล้องรุ่นใหม่ๆ สำหรับการถ่ายวิดีโอ 4K และเพื่อประสิทธิภาพสูงสุด กล้องหลาย ๆ ระดับจะกำหนดให้ใช้เมมโมรี่การ์ด U3 เป็นอย่างต่ำ

ซึ่ง U1, U3 จะขึ้นอยู่ในการ์ด Class 10 ขึ้นไป โดยที่การ์ด Class 10 ตามด้วย U จะมีความเร็วในการเขียนตาม U และเลขต่อท้าย ซึ่งถ้าเป็น U1 ความเร็วในการเขียนคือ 10MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที) และ U3 ความเร็วในการเขียนคือ 30MB/s (เมกกะไบต์ต่อวินาที)

 

เลือกใช้เมมโมรี่การ์ดให้เหมาะกับงาน และถูกกับวัตถุประสงค์

จุดสำคัญของการเลือกใช้งานเมมโมรี่การ์ด คือ การอ่าน และเขียนข้อมูลของการ์ด และส่วนต่าง ๆ ที่โชว์อยู่บนเมมโมรี่การ์ด ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อ ต้องทำความเข้าใจก่อน

นอกจากจะรู้แล้วว่าบนการ์ดมีข้อมูลอะไรบ้าง ส่วนต่อไปคือการนำไปใช้จริง กล้องแต่ละรุ่น จะรองรับการใช้งานกับการ์ดไม่เหมือนกัน บางรุ่นจะไม่รองรับการทำงานรวมกับการ์ดบางประเภท ซึ่งเราจะต้องดูกันที่ตัวกล้องของเราก่อนเลย สามารถเข้าไปดูสเปคกล้องในเว็บได้ หรือในคู่มือกล้อง และบนกล่องกล้อง

สำหรับการถ่ายภาพหรือวิดีโอ จะต้องเลือกใช้ตามประเภทงาน สำหรับการถ่ายไฟล์ RAW จะใช้การ์ดความเร็วระดับ U1 หรือ U3 การ์ดจะมีความรวดเร็วในการเขียนข้อมูล ประมวลผลรวดเร็ว ไม่เกิดการค้าง และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนสายวิดีโอ ครีเอตอร์ และฟิล์มเมเกอร์ ที่ต้องถ่ายวิดีโอ 4K แนะนำให้ใช้การ์ด UHS Speed Class 3 (U3) และ Video Speed Class ที่ V30

สายแอคชั่น สายเที่ยวลุยด้วยอุปกรณ์กล้องมุมมองใหม่ ๆ อย่าง แอคชั่นแคม และโดรน จะออกแบบมาให้ใช้กับ Micro SD Card

แต่เพื่อความมั่นใจว่า Micro SD Card แบบไหน ควรดูรายละเอียดสเปคต่าง ๆ ของตัวกล้องที่ใช้ สามารถเข้าไปดูในเว็บไซต์ออฟฟิเชียลของแต่ละแบรนด์ได้ จะมีแนะนำว่าควรใช้การ์ดประเภทไหนบอกอยู่

EX. โดรน DJI Mini 3 Pro ในหน้าเว็บจะบอกว่าต้องใช้การ์ด microSD cards UHS-I Speed Class 3 ขึ้นไป และแนะนำการ์ดที่ใช้ได้

Source DJI Mini 3 Pro - Specs

EX. กล้องแอคชั่น DJI Action 2 ในหน้าเว็บจะบอกว่าต้องใช้ microSD (Max. 256GB) และแนะนำการ์ดที่ใช้ได้

Source DJI Action 2 - Specifications

นอกจากนี้ในการเลือกใช้งาน เราจะไม่สามารถดูแค่ความเร็วในการอ่านได้เพียงอย่างเดียว แต่ต้องดูควบคู่ไปกับความเร็วในการเขียนด้วย เพื่อให้ตอบโจทย์การทำงานและประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการใช้งาน

บทความ ก่อนหน้านี้:
บทความ ถัดไป:

หมวดหมู่สินค้า